สรุปจากหนังสือ 3 เล่ม

สรุปจากหนังสือ




น้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

      คนไทยรู้จักคุ้นเคยกับการใช้สมุนไพรตั้งแต่โบราณ ทั้งโดยตรง คือ เป็นยารักษาโรค และโดยอ้อม คือ เป็นอาหารเสริมเพื่อสุุขภาพบำรุงร่างกาย ทำให้เกิดเป็นตำรายา ตำราแพทย์แผนโบราณ สูตรอาหารเทคนิกการใช้สมุนไพรต่างๆมากมายผ่านประสบการณ์
     
     ในตำราแพทย์แนไทยโบราณเชื่อว่า ร่างกายของคนเราปรพกอบไปด้วย 4ธาตุ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ทั้ง4ธาตุต้องอยู่ในความสมดุลกัน ร่างกายก็ะเป็นปกติ หากว่าเมื่อธาตุจะสมดุลกัน ก็จะเกิดโรคภัยไข้เจ็บ ปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายสมดุล คือ อาหาร ซึ่งอาหารที่เรารับประทานเข้าไป สามารถแบ่งแแกเ็น 6รสชาติ คือ รสหวาน รสขม รสเผ็ด รสเค็ม รสฝาด และรสเปรี้ยว ก็จะมีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุทั้ง4ธาตุ ให้สมดุลกัน เช่น อาหารรสฝาดช่วยบำรุงดิน อาหารรสเปรี้ยวช่วยบำรุงธาตุน้ำ อาหารรสเผ็ดร้อนช่วยบำรุงธาตุลม และรสขมช่วยบำรุงธาตุไฟ เป็นต้น
    
     น้ำสมุนไพร หมายถึงเครื่องดื่มที่ได้จาพืชผักผลไม้ ผลิตต่างๆที่ได้จากธรรมชาติจากส่วนต่างๆของพืช คือ ต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด รากหรือเหง้าเป็นต้น จะนำมาแปรรูปเป็นอาหารได้หลายชนิด และยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย ้ำสมุนไพรจึงให้คุณค่าทางโภชนาการและคุณค่าทายาต่อสุขภาพ
      การทำน้ำสมุนไพรหากต้องกรให้ได้คุณค่าต่อสุขภาพตามร่างกายที่ต้องการ จึงจำเป็นต้อศึกษาความเข้าใจเกี่ยวกับสมุนไพรแต่ละชนิด วิธีการใช้ประโยชน์จากพืชชนิดนั้นๆให้ถูกต้อง เพื่อให้ได้ประโยชน์จากสมุนไพรนั้นอย่างเต็มที เช่น การคั้นเอาแต่น้ำ การปั้นกับน้ำให้ละเอียด หรือ การนำเอาไปต้ม เป็นต้น
พืชผักผลไม้ไกล้ตัวเราหลายชนิดสามารถแปรรูปมาเป็นน้ำสมุนไพรที่มีสรรพคุณต่อร่างกายสูงได้ เช่น น้ำตะใคร้ ที่มีนำมันหอมระเหย ช่วยยับยังการเจริญเติบโตขงบัคเตรี มีวิตามินเอ ฟอสฟอรัส เมนทอล แก้ท้องอืด ช่วยขับเหงื่อ ขับผิวหนัง  น้ำแตงกวา มีวิตามินซี วิตามินอี แคลเซียม เหล็ก ช่วยรักษาโรคผิวหนัง เป็นต้น

   
 การเลือกวัตถุดิบ

1. สด ควรต้องมีการคัดเลือก ต้องไม่ช้ำไม่มีรอยบุบหรือมีรู เป็นของที่ดูแล้วใหม่
2. สุก  ผลไม้บางชนิดจะมีช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการแปรรูป เช่น มะละกอ ควรจะมีความสุขพอสมควร ไม่สุขจนเละ เป็นต้น
3. สมบรูณ์ คสรอยู่ในสภาพที่สมบรูณ์เต็มที่ไม่เกร็น หากเป็นผักควรอยู่ในช่วงโตเต็มที ผลไม้ก็เช่นกันควรอยู่ในช่วงโตสมบรูณ์พอสมควร
    กระบวนการทำน้ำสมุนไพร
    1. การบีบหรือคั่นให้เป็นน้ำ คือ จำพวกผลไม้ ส้ม มะนาว อ้อย หรือพืชที่มีน้ำในตัวมากสามารถบีบน้ำหรือคั่นน้ำมาดื่มได้เลย

    2. การปั่นหรือการบดให้ละเอียด สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้มีดสับให้ละเอียด การโขลก การใช้เครื่องปั่น หรือการบด จะเป็นพืช ผัก ผลไม้ที่มีน้ำน้อย เช่น ผักขึ้นฉ่าย แตงกวา ข้าวโพด แตงไท ฝรั่ง แครท มะระ เป็นต้น
    3. การต้ม คือการน้ำไปเคี่ยวให้เดือดร่วมกับน้ำ พืชบางชนิด เมื่อโดนความร้อนจะได้สีและกลิ่นออกมา เช่น ตะไคร่ มะตูม แห้ว กระเจี๊ยบ เป็นต้น






น้ำสมุนไพรดื่มแก้กระหายน้ำ
 
          ประเทศเราเป็นประเทศที่มีอากาศร้อน ร้อนอบอ่าวและยิ่งจะร้อนเพิชื่มขึ้นในช่วง เดือน เมษายน อากาศจะบรรเทาคามร้อนลงถ้ามีฝนตกลงมาบ้าง ในขณะที่ช่วงบ่ายแดดจัด คนที่ทำงานกลางแดด หรือกำลัแออัดอยู่บนรถเมล์จะรู้สึกทรมานมาก แต่คนที่ทำงานในห้องแอร์ไม่ค่อยมีปัญหา บางคนอาจจะไปหนีร้อนไม่ได้ เลยใช้ตัวช่วยเช่นพัดลม หรือกาบมาช่วยได้บ้าง สำหรับการดิ่มน้ำเย็นๆก็ช่วยด้มากสามารถช่วยคลายความร้อนได้มาก ทำให้จิตใจชุ่มชื่น น้ำจะช่วยทดแทนเหงื่อที่ออก ทำให้รู้สึกสบสย ถ้าได้ดื่มน้ำสมุนไพรยิ่งทำให้สดชื่นมากขึ้น เพราะน้ำสมุนไพรบางชนิดสามารถช่วยผ่ยคลายความร้อน ทำให้อุณหภูมิลดลง แก้อาการกระหายน้ำ เ่ชน น้ำมะขาม น้ำใบบัวบก  น้ำใบเตย น้ำใบว่านกาบหอย เป็นต้น







น้ำดื่มสมุนไพร 108

      น้ำกระเจี๊ยบ            น้ำฝรั่ง               น้ำมะตูม               น้ำมะเขือเทศ             น้ำตระไคร้
     น้ำขิง                      น้ำเสารส           น้ำอัญชัน              น้ำดอกคำฝอย           น้ำรากบัว
  น้ำแครท                 น้ำบักบก           น้ำฝักทอง             น้ำมะขาม                   น้ำอ้อย





บรรณานุกรม

ธารธรรมแก้ว เชื้อเมือง. น้ำดื่มสมุนไพรจากพืชและผลไม้ , กรุงเทพฯ : บริษัทยูโรปา เพรส จกัด ,2537.
เปรม แสงแก้ว. สมุนไพรเพื่อสุกขภาพ , กรุงเทพฯ : บริษัทไพลินบุ๊คเน็ต จำกัด ,2545.
น้ำสมุนไพร 108 , กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.




 สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
น้ำสมุนไพร ได้อนุญาตให้ใช้ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น